วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เจอกรุ “พระ 25 พุทธศตวรรษ” กว่า 20,000 องค์

เจอกรุ “พระ 25 พุทธศตวรรษ” กว่า 20,000 องค์

              อึ้งพบ “พระ 25 พุทธศตวรรษ” กว่า 20,000 องค์ ถูกเก็บรักษาไว้กว่า 50 ปีที่สำนักงานพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่พบระหว่างบูรณะหอประชุมพุทธมณฑล รีบแจ้ง “พระราชพิพัฒน์โกศล” ประธานการบูรณะหอประชุมพุทธมณฑล ไปตรวจสอบ คิดว่ามีผู้ครอบครองพระรุ่นนี้ไปหมดแล้ว เพราะจัดเป็นพระเครื่องที่มีพิธีใหญ่ เตรียมนำไปมอบให้ผู้ที่ร่วมสมทบทุนบูรณะหอประชุมพุทธมณฑล 4-6 ก.ค. นี้
      
       พระราชพิพัฒน์โกศล (โกศล มหาวีโร) หรือหลวงพ่อเณร เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ในฐานะประธานการบูรณปฏิสังขรณ์หอประชุมพุทธมณฑล กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ได้มีมติมอบให้ตนเป็นผู้ดำเนินการบูรณะหอประชุมพุทธมณฑล เนื่องจากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่พุทธมณฑล สร้างความเสียหายให้กับหอประชุมพุทธมณฑลเป็นอย่างมาก จนไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติ ตนจึงได้เสนอยังคณะสงฆ์เพื่อจะเข้าไปดำเนินการบูรณะ ซึ่งทางที่ประชุม มส. ก็ให้ความเห็นชอบ และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา จนขณะนี้งานการบูรณะคืบหน้าไปมาก ขณะเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธมณฑลได้แจ้งว่าในระหว่างที่บูรณะในส่วนที่เป็นห้องทำงานของสำนักงานพุทธมณฑลซึ่งอยู่ภายในหอประชุมพุทธมณฑลด้วยนั้น ได้พบลังไม้เก่าจำนวน 10 ลัง ซึ่งภายในบรรจุพระเครื่องรุ่น “พระ 25 พุทธศตวรรษ” จำนวนมาก จึงได้มีการเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่อาคารพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นการชั่วคราวก่อน
      
       พระราชพิพัฒน์โกศล เล่าว่า เจ้าหน้าที่จึงพาตนเข้าไปดู และตรวจสอบ พบว่าเป็นพระ25 พุทธศตวรรษ ชุดเดียวกันกับที่มีการจัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 ในโอกาสการเฉลิมฉลองครบ 2,500 ปี ของพระพุทธศาสนา ซึ่งในครั้งนั้นมีการจัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างพระเครื่องของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททอง และทรงกดพิมพ์พระผง เป็นปฐมฤกษ์ ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และมีพระเกจิอาจารย์มากถึง 108 รูป เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, พระครูพิศิษฐอรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม, หลวงปู่กลิ่น วัดตลิ่งชัน, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นต้น นั่งปรกปลุกเสก ที่วัดสุทัศนเทพวราราม และเนื่องจากเป็นการจัดสร้างขึ้นเพื่อนำเงินรายได้ไปสร้างพุทธมณฑล และบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งยังมีการจัดสร้างจำนวนมาก จึงมีการนำพระเครื่องชุดดังกล่าวที่ยังเหลืออยู่มาจัดเก็บไว้ที่พุทธมณฑล เป็นเวลานาน จนเชื่อกันว่าพระเครื่องชุดนี้มีคนเช่าบูชาไปหมดแล้ว กระทั่งมาพบพระเครื่องชุดดังกล่าวอีกครั้งว่ามีการเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพุทธมณฑล เป็นเวลานานกว่า 50 ปี
      
       ทั้งนี้ ผลการสำรวจจำนวน พบว่ามีประมาณ 20,000 องค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชิน โดยเป็นพระ 25 พุทธศตวรรษ ชุดสุดท้ายแล้วที่ยังมีการเก็บรักษาอยู่ เพราะเมื่อมีการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2500 พระเครื่องรุ่นนี้ก็ถูกแจกจ่ายออกไปหมด ทั้งยังมีคนเช่าบูชาไปเก็บไว้เป็นจำนวนมาก เพราะถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีพิธีขลัง และดีที่สุดของประเทศไทย จนทำให้ในบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่องเชื่อกันว่า พระ 25 พุทธศตวรรษ ไม่มีเหลือให้เช่าบูชาแล้ว ทั้งนี้ เมื่อมีการพบพระเครื่องชุดดังกล่าว ตนจึงหารือกับทางสำนักงานพุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมีความเห็นตรงกันว่า จะนำมามอบให้กับผู้ที่ร่วมบริจาคสมทบทุนในการบูรณะหอประชุมพุทธมณฑล เนื่องจากพระ 25 พุทธศตวรรษ มีการจัดสร้างขึ้นเพื่อพุทธมณฑล ดังนั้นสิ่งที่มีคุณค่าที่จะตอบแทนผู้ที่มีส่วนร่วมในการบูรณะหอประชุมพุทธมณฑลได้ดีที่สุด คือ พระ 25 พุทธศตวรรษ โดยจะมีการจัดพิธีทอด ผ้าป่ามหากุศลสมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์หอประชุมพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ในวันที่ 4 - 6 ก.ค. นี้ ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น. ที่ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ และในงานนี้จะมีการสวดพระปริตรเพื่อความสงบสุขของประเทศชาติด้วย 


ขอบคุณ manager
 วัตถุมงคล พระบูชา หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย ร้านโจ้กรุงเก่า  ห้างบิ๊กซีนวนคร ปทุมธานี โทร 095-743-2223 เปิด จันทร์-เสาร์ 09:00 - 17:00 หยุดวันอาทิตย์ Line - joamulet  //  www.facebook.com/joamulet

ชาตรี ย้อนยุค2507 และทุกรุ่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อยุธยา

ร้านโจ้กรุงเก่า ชั้น1 ห้างบิ๊กซีนวนคร ปทุมธานี รับเช่า บูชา เลส กำไล แหวน หลวงพ่อรวย วัดตะโก  เปิด จันทร์-เสาร์ 09:00 - 17:00 หยุดวันอาทิตย์ โทร 085-321-6456  www.facebook.com/joamulet   Line ID - joamulet

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
 
พระรอด พิมพ์ใหญ่ ลำพูน

          พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
   
         พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
   
         พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
   
         จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย


พระรอด พิมพ์กลาง ลำพูน
             พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

         เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน

         นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก

พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่

         1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
         2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
         3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

         ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

         1. พิมพ์ใหญ่
         2. พิมพ์กลาง
         3. พิมพ์เล็ก
         4. พิมพ์ต้อ
         5. พิมพ์ตื้น

นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ

         1. สีเขียว
         2. สีพิกุล (สีเหลือง)
         3. สีแดง
         4. สีเขียวคราบเหลือง
         5. สีเขียวคราบแดง
         6. สีเขียวหินครก

         สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน



วัดมหาวัน ลำพูน
พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
   
         พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่

ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด

         1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
         2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
         3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
         4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
         5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
         6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
         7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
         8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
         9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
        10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
        11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
        12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
        13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี



วัดมหาวัน ลำพูน

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
 
 วัตถุมงคล พระบูชา หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย ร้านโจ้กรุงเก่า  ห้างบิ๊กซีนวนคร ปทุมธานี โทร 095-743-2223 เปิด จันทร์-เสาร์ 09:00 - 17:00 หยุดวันอาทิตย์ Line - joamulet  //  www.facebook.com/joamulet

ชาตรี ย้อนยุค2507 และทุกรุ่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อยุธยา

ร้านโจ้กรุงเก่า ชั้น1 ห้างบิ๊กซีนวนคร ปทุมธานี รับเช่า บูชา เลส กำไล แหวน หลวงพ่อรวย วัดตะโก  เปิด จันทร์-เสาร์ 09:00 - 17:00 หยุดวันอาทิตย์ โทร 085-321-6456  www.facebook.com/joamulet   Line ID - joamulet